简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ไปดูไส้ในเงินเฟ้อเมื่อวานที่ออกมา 7% สูงสุดในรอบ 40 ปี และถ้าดู Core ที่ไม่รวมอาหารและพลังงานก็อยู่ที่ 5.4% สูงสุดในรอบ 30 ปี
ไปดูไส้ในเงินเฟ้อเมื่อวานที่ออกมา 7% สูงสุดในรอบ 40 ปี และถ้าดู Core ที่ไม่รวมอาหารและพลังงานก็อยู่ที่ 5.4% สูงสุดในรอบ 30 ปี สิ่งที่ Drive inflation รอบนี้คือที่อยู่อาศัย และรถมือสอง ในส่วนอาหารและพลังงานเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย (Key drive เงินเฟ้อในปี 2021 คือพลังงาน)
ถ้าเรามาวิเคราะห์พลังงานไม่น่าจะเป็น key ในการ drive ในปีนี้ เพราะถ้าย้อนกลับไปต้นปี 2021 ราคาน้ำมันอยู่แถว 50 เหรียญ ดังนั้นถ้าน้ำมันยังอยู่แถว 80 เหรียญ ยังไงเงินเฟ้อก็ยังไม่ลดจนกว่าจะถึงเดือน 5 ที่น้ำมันขึ้นมาระดับ 70 เหรียญ ดังนั้นในส่วนเงินเฟ้อของพลังงานน่าจะค่อยๆลดลงตั้งแต่เดือน 5 เป็นต้นไป รวมถึง Gas ด้วย ข้อมูลอีกนิดคือ เมื่อไม่กี่วันมานี้ โอมานได้ให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่ม OPEC ไม่ต้องการให้น้ำมันเกิน 100 เหรียญ และจริงๆก่อนหน้านั้นกลุ่ม OPEC ก็ยังเคยบอกว่า ในกลุ่มพอใจที่น้ำมันระดับ 70-80 เหรียญ ดังนั้นเราน่าจะเห็นน้ำมันไม่น่าจะขึ้นแรงไปกว่านี้เท่าไหร่ และแน่นอนก็ไม่น่าจะลงแรงเช่นกัน ดังนั้นเงินเฟ้อในส่วนนี้จะดีขึ้นแน่ในช่วงกลางปี
ดังนั้นสิ่งที่น่ากังวลในเรื่องเงินเฟ้อ คือ ที่อยู่อาศัย และรถมือสอง นั่นคือสิ่งที่ powell พูดไว้เช่นกันว่า demand ในอเมริกาในส่วนสินค้า ที่อยู่อาศัย รวมถึงรถยนต์มันแข็งแกร่งมาก และ Powell ก็พูดไว้ไม่กี่วันที่แล้วว่าปัญหา Supply Chain จะกลับมาดีขึ้นในปี 2023 แสดงว่าเงินเฟ้อในส่วนนี้จะไม่ได้รับการแก้ไขในปีนี้ 2022 กลับมาเรื่องที่อยู่อาศัย ถือว่ามีขนาดเท่ากับ 3/4 ส่วนของมาตรวัด CPI เลย และส่วนนี้ทั้งราคาบ้านและค่าเช่าบ้านก็พุ่งขึ้นรุนแรงมาก และยังถูกคาดการณ์ว่าจะยังสูงตลอดทั้งปี นักวิเคราะห์หลายคนเชื่อว่า เงินเฟ้อในส่วนนี้กว่าจะเห็นผล ก็หลังจาก FED เริ่มดำเนินนโยบายสักพักแล้ว และอีกส่วนก็เชื่อว่า ถ้า FED สร้างผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยมากเกินไป อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นดูเหมือนปัญหาเงินเฟ้อในปีนี้ทั้งรถมือสองที่เกิดจากคอขวด และราคาที่อยู่ และค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้น อาจจะไม่ได้รับการแก้ไขในปีนี้
ความเสี่ยงอีกประเด็นนึง ที่เราอาจจะต้องกังวล คือแผนการอัดฉีดเงินของไบเดน 2 TL ดอลล่า ซึ่งเยอะมาก ถ้าผ่านได้ มีโอกาสทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอีกก็ได้ เพราะการอุดหนุนรถ EV ก็ยิ่งทำให้ demand ในส่วนของรถยนต์พุ่งสูงขึ้นอีก และยังรวมถึงในส่วนอื่นๆที่อาจจะทำให้เงินเฟ้อไม่ใช่แค่เพียงไม่ลงง่ายๆ แต่อาจจะพุ่งอีกก็ได้ แล้วยังมีน้ำมันคงไม่ใช่ตัวหลักที่จะมา drive เงินเฟ้อในปีนี้ ก็อาจจะกลับมาเป็นแรงบวกอีกก็ได้
เราคงต้องติดตามไส้ใน และสถานการณ์เงินเฟ้อเรื่อยๆ ว่ามันจะดีขึ้นอย่างที่ FED คาดการณ์หรือไม่ เพราะเท่าที่ฟัง Powell และตัวเลขเงินเฟ้อทีออกมา เหมือน FED จะแค่ค่อยๆถอนความช่วยเหลือออกมา และปล่อยให้สถานการณ์ค่อยๆดีขึ้น ไม่น่าจะทำให้ตลาดเปลี่ยนเป็นขาลง แต่ถ้าตัวเลขไม่เป็นไปตามที่ FED คาด เราคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เชื่อว่า การประชุมในช่วงกลางปีจะสำคัญที่สุด นั่นคือเดือน 6 ปีนี้ น่าจะตัดสินว่า ครึ่งปีหลังตลาดจะวิ่งแรงๆได้หรือไม่
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เฟดยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 4.25%–4.50% เป็นครั้งที่สามติดต่อกัน ท่ามกลางแรงกดดันจากประธานาธิบดีทรัมป์ที่ต้องการให้ลดดอกเบี้ย แม้ GDP ไตรมาสแรกจะหดตัว 0.3% และเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย (2.4%) แต่เฟดยังเลือก “รอดู” พร้อมย้ำจุดยืนอิสระในการดำเนินนโยบาย ตลาดหุ้นตอบรับเชิงบวก หลังพาวเวลล์ให้ความมั่นใจเรื่องความระมัดระวังของเฟด นักวิเคราะห์คาดอาจมีการลดดอกเบี้ยช่วงปลายปี หากเศรษฐกิจชะลอตัวชัดเจน อยากให้ย่อยข้อมูลนี้เป็นโพสต์อินโฟกราฟิก หรือเขียนต่อเป็นบทวิเคราะห์แนว macroeconomic overview?
เมษายน 2568 กลายเป็นจุดเริ่มต้นความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ หลังนโยบายภาษีนำเข้าของอดีต ปธน. ทรัมป์ จุดชนวนความผันผวนในตลาดโลก พร้อมเปิดฉาก “สงครามเศรษฐกิจสองขั้ว” ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าระบบการเงินโลกกำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ นักลงทุนยุคใหม่ต้องปรับวิธีคิด และบริหารพอร์ตด้วยวินัยเพื่อรับมือโลกที่ไม่แน่นอน.
เฟดกำลังเผชิญภาวะตัดสินใจลำบากหลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้า เสี่ยงกระตุ้นเงินเฟ้อและฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว เจ้าหน้าที่เฟดมีความเห็นแตกต่างเรื่องเวลาลดดอกเบี้ย ขณะที่ความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะงักงันกลับมาอีกครั้ง เฟดยังคงระมัดระวังและเลือกที่จะรอดูท่าทีจากข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ.
Kiyosaki กลับมาอีกครั้งพร้อมคำเตือนแรง! เขาเผยสัญญาณเศรษฐกิจโลกอาจกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอยครั้งใหญ่ — พร้อมย้ำว่า “นี่อาจไม่ใช่แค่ความกลัวเกินเหตุ” เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มชี้ชัดถึงความเปราะบางที่น่ากังวล แล้วเราควรกลัวหรือควรเตรียมฉลอง? มาร่วมเจาะลึกเหตุผล 3 ข้อที่ทำให้ Kiyosaki เชื่อว่า “พายุลูกใหญ่” กำลังมา อ่านต่อได้ในบทความนี้เลย!
EC Markets
Pepperstone
FXCM
IB
AvaTrade
OANDA
EC Markets
Pepperstone
FXCM
IB
AvaTrade
OANDA
EC Markets
Pepperstone
FXCM
IB
AvaTrade
OANDA
EC Markets
Pepperstone
FXCM
IB
AvaTrade
OANDA