简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:รู้หรือไม่ ! เหตุผลที่ทำให้โบรกเกอร์ล้มละลายมีอะไรบ้าง ?
ล้มละลาย สำหรับคนทั่วไปอาจมีความหมายคล้าย ๆ กับคำว่า ‘เจ๊ง’ มันคือภาวะที่บุคคล หรือบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีหนี้ล้นพ้น หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ซึ่งในวงการ Forex ก็เคยมีเหตุการณ์ที่โบรกเกอร์เคยล้มละลายอยู่หลายเจ้า สาเหตุของการล้มละลายคืออะไร และเทรดเดอร์ที่เป็นลูกค้าอย่างเรา ๆ จะทำยังไงถ้าโบรกเกอร์ที่เราใช้ล้มละลาย เงินของเราจะละลายไปด้วยมั้ย บทความนี้มีคำตอบ!
ในตลาด Forex เรามี 2 เหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้โบรกเกอร์นึงล้มละลายได้
1. ความผันผวนของตลาดที่รุนแรงมากเกินไป
โดยธรรมชาติของ Forex นั้นผันผวนแรงก็จริง แต่เมื่อไหร่ที่ความผันผวนสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ นั่นแหละหายนะ มันอาจร้ายแรงถึงขั้นล้างเงินทุนทั้งหมดของโบรกเกอร์ เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) ยกเลิกการตรึงเงินฟรังก์สวิสออกจากยูโร ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการประกาศนี้มูลค่าของฟรังก์สวิสเพิ่มขึ้นเกือบ 40% เมื่อเทียบกับยูโรปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ เกิดการสั่นสะเทือนตลาด Forex ครั้งใหญ่
หากเทรดเดอร์ทำการซื้อขายเงินฝากเริ่มต้นเพียงอย่างเดียวโบรกเกอร์ก็จะไม่เดือดร้อน แต่เลเวอเรจที่พวกเขาใช้คือสิ่งที่นำพาหายนะมาสู่โบรกเกอร์ เหตุการณ์นั้นทำให้โบรกเกอร์ Alpari UK และโบรกเกอร์ FXCM ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกและมีลูกค้ามากมาย รวมทั้งโบรกเกอร์ Forex อีกหลายรายถูกฟ้องล้มละลายเนื่องจากความสูญเสียที่เกิดขึ้น
2. โบรกเกอร์โดนฟ้อง
เทรดเดอร์สามารถฟ้องร้องโบรกเกอร์ได้ หากรู้สึกว่าถูกละเมิดสิทธิ์ โดนโกง หรือเจออะไรที่ไม่เป็นธรรม โดยจัดการผ่านหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของภูมิภาค อาทิ ASIC (ออสเตรเลีย), CySEC (ไซปรัส) และ FCA (สหราชอาณาจักร)
โบรกเกอร์บางรายจะยืมเงินของลูกค้ามาก่อน โดยเฉพาะลูกค้ารายใหญ่ที่ต้องการเทรดระยะยาว แต่โบรกเกอร์เห็นว่าจะทำเงินได้มากกว่าจากเงินก้อนนั้น เลยแอบเอาเงินออกมาเทรดเองบ้าง บางครั้งก็นำไปลงทุนอย่างอื่นโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ แต่มันอาจผิดพลาดทำให้สูญเสียทั้งคู่ หรือบางเคสก็คือปั่นราคา ปั่นกราฟ สร้างกราฟหลอกลวง ตลอดจนวิธีต่าง ๆ ที่จะทำให้ลูกค้าเสียหาย กรณีเหล่านี้ฟ้องได้หมด ซึ่งเคสใหญ่ ๆ ก็อาจนำมาสู่การล้มละลายของโบรกเกอร์
แม้จะถูกควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงิน แต่บางครั้งโบรกเกอร์ Forex ก็ยังฉ้อโกงได้ สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าหน่วยงานกำกับดูแล Forex อาจไม่ทราบถึงกิจกรรมทั้งหมดโบรกเกอร์ และทำให้เกิดช่องโหว่ที่โบรกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์ได้ เพียงเพราะโบรกเกอร์บางรายได้รับการควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแล Forex ที่มีชื่อเสียงไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเชื่อใจได้ 100%
โบรกเกอร์ล้มละลาย เทรดเดอร์ทำไง?
1. กรณีเทรดกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล
อันนี้คุณไม่ต้องตื่นตระหนกไป เพราะโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจะแบ่งเงินไว้ชดเชยสำหรับการล้มละลายอยู่แล้ว ทางหน่วยงานกำกับดูแลก็ไม่ทิ้งคุณแน่นอน เค้าจะมีหน้าที่จะต้องคุ้มครองดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงสบายใจได้หายห่วง ได้เงินคืนแน่นอน และที่ผ่านมาโบรกเกอร์ Forex (ในการกำกับดูแล) ที่ล้มละลายส่วนใหญ่สามารถคืนเงินให้กับลูกค้าได้ แม้ว่าพวกเขาจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการชำระบัญชีทรัพย์สิน แต่ในที่สุดก็ทำได้
ทั้งนี้ก็มีกรณีที่ โบรกเกอร์ล้มละลายฟื้นตัวมาได้จากการถูกซื้อโดยโบรกเกอร์ Forex รายใหญ่ที่ยังคงเห็นว่าบริษัทมีศักยภาพ ในกรณีนี้บริษัทที่ซื้อโบรกเกอร์ Forex ที่ล้มละลายจะดำเนินการชำระค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดคืนเงินให้ลูกค้า เช่นเดียวกับกรณีของโบรกเกอร์ Alpari UK และ FXCM ที่ปัจจุบันทั้งสอง บริษัทเปิดดำเนินการอย่างสมบูรณ์
2. กรณีเทรดกับโบรกเกอร์ที่ไม่มีใบอนุญาตฯ
อันนี้ต้องตระหนก ต้องตกใจ ต้องเครียดแน่ ๆ เพราะคุณลงทุนกับโบรกเกอร์ที่ไม่ได้มีหน่วยงานรองรับ ล้มละลายไปก็ยากเลย ไม่มีองค์กรมาหนุนหลัง หัวเดียวกระเทียมลีบ ต้องไปแจ้งความ ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ที่ไม่ได้การันตีด้วยซ้ำว่าจะได้เงินคืน ดังนั้นถ้ากลัวไม่ได้เงินคืน อย่าไปลงทุนกับโบรกเกอร์ไม่มีใบอนุญาตเด็ดขาด!
ลงทุน Forex ให้สบายใจ ต้องลงทุนกับโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตเท่านั้นนะ ไปตรวจสอบกันได้ง่าย ๆ เลยที่แอป WikiFX แอปตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ทั่วโลก โหลดฟรี!!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.
STARTRADER
HFM
Saxo
ATFX
EC Markets
OANDA
STARTRADER
HFM
Saxo
ATFX
EC Markets
OANDA
STARTRADER
HFM
Saxo
ATFX
EC Markets
OANDA
STARTRADER
HFM
Saxo
ATFX
EC Markets
OANDA