
สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดทะยานขึ้น 22.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ระหว่างวันราคาทองคําจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของซึ่งส่งผลให้ราคาทองคําร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุด ในรอบ 1 ปีบริเวณ 1,681.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี ราคาทองคําพุ่งขึ้นในเวลาต่อมาในทันทีที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps หรือ 0.50% ซึ่งเป็นการปรับ ขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี และถือว่า “มากกว่า” ที่ตลาดส่วนใหญ่คาดไว้ อีกทั้งยังเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 นอกจากนี้ ECB ได้เปิดเผยเครื่องใหม่ ที่เรียกว่า Transmission Protection Instrument (TPI) ซึ่งจะดําเนินการเข้าซื้อพันธบัตรจากประเทศที่มีหนี้สินจํานวนมาก เช่น อิตาลี โดยมีจุดประสงค์เพื่อจํากัดต้นทุนการกู้ยืมของประเทศ สมาชิกที่มีหนี้จํานวนมากและ ant-fragmentation ซึ่งจะช่วยลติความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก สถานการณ์ดังกล่าวหนุนเงินยูโรให้แข็งค่าแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 1.0275 จนเป็นปัจจัยหลักที่กดดันดัชนีดอลลาร์ให้ร่วงลงแรง ประกอบกับสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาด ทั้งจํานวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์และดัชนีภาคการผลิต จากเฟดฟิลาเดลเฟีย ซึ่งยิ่งกดดันให้ดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าเพิ่ม พร้อม ๆ กับกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ร่วงลงต่ำกว่า 2.9% สถานการณ์ที่กล่าวมาอยู่เบื้องหลังการ ทะยานขึ้นรองทองคําเกือบ 40 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับต่ำสุดสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,720.15 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามการ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการและภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐ
ราคาทองคำยังสร้างระดับต่ำสุดใหม่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา (1,697 ระดับต่ำสุดของสัปดาห์ที่ผ่านมา) ส่งผลให้แรงซื้อยังคงถูกจำกัดสำหรับวันนี้ประเมินแนวต้านระยะสั้นในโซน 1,707-1,714 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ หากไม่สามารถยืนได้ราคาอาจอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับสำคัญจะอยู่ในบริเวณ 1,680- 1,676 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (1,676 ระดับต่ำสุดของปี 2021)
คําแนะนํา เปิดสถานะขาย $1,724-1,732
จุดทํากําไร ซื้อคืนทํากําไร $1,704-1,697
ตัดขาดทุน ตัดขาดทุนสถานะขายหากผ่าน $1,751
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International