简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์ไฟฟ้าดับในสเปนและโปรตุเกสเผยให้เห็นจุดอ่อนของระบบการเงินดิจิทัล เมื่อทั้งการชำระเงิน อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์ล่มพร้อมกัน ทำให้ประชาชนเข้าถึงเงินไม่ได้ บทความนี้ตั้งคำถามถึงความพร้อมของยูโรดิจิทัลและระบบกลางในยามวิกฤต พร้อมชวนคิดเรื่องการกระจายความเสี่ยงในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ในพอร์ตลงทุน.
เรื่องมันเกิดขึ้นเมื่อเช้าตรู่วันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา...อยู่ดี ๆ ระบบไฟฟ้าใน “สเปน” และ “โปรตุเกส” ก็ล่มไปทั้งยวง ว่ากันว่าเป็นเหตุขัดข้องในเครือข่ายส่งไฟแรงสูง ทำเอาทั้งสองประเทศต้องเผชิญกับไฟดับวงกว้างไม่ทันได้ตั้งตัว
ทีนี้แหละ ความปั่นป่วนก็มาเยือน ไม่ใช่แค่ไฟไม่ติด แต่โทรศัพท์ก็ดับ อินเทอร์เน็ตก็ล่ม หลายเมืองถึงกับสื่อสารกันไม่ได้ และแน่นอน ระบบชำระเงินแบบดิจิทัลที่คนยุโรปพึ่งพากันแทบทั้งนั้น ก็พากันล่มไปด้วย
ร้านค้ารับจ่ายไม่ได้ ATM หยุดให้บริการ คนไม่มีเงินสด พูดตรง ๆ คือ “ติดอยู่กลางปัญหา”
แล้วถามว่าเกี่ยวอะไรกับ “ยูโรดิจิทัล”?
เกี่ยวสิ เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้มันเหมือนเป็น “ซ้อมใหญ่” ให้เห็นภาพเลยว่า ถ้าวันหนึ่งยูโรดิจิทัลถูกนำมาใช้จริงแบบเต็มระบบ แล้วเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นซ้ำ... เราจะมีทางเลือกอะไร?
แอดเหยี่ยวขอเล่าตรง ๆ ว่า นี่แหละคือจุดอ่อนที่หลายฝ่ายตั้งคำถามมานาน — “ถ้าทุกอย่างไปพึ่งดิจิทัลหมด แล้ววันหนึ่งดิจิทัลล่ม เราจะอยู่กันยังไง?”
แถมในสเปนเองยังมีนโยบายจำกัดการใช้เงินสดไม่ให้เกิน 1,000 ยูโร/รายการอีกต่างหาก ทั้งที่ข้อมูลจาก ECB ระบุว่า ประชาชนยังใช้เงินสดอยู่ถึง 57%
ขณะที่ธนาคารกลางสวีเดนก็เคยเตือนแล้วว่า “ควรมีเงินสดติดบ้านไว้ให้ใช้ได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์” เพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินลักษณะนี้
ส่วนฝั่งยูโรดิจิทัลเองก็ยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นเต็มร้อย เพราะมีประชาชนแค่ 45% เท่านั้นที่บอกว่ายินดีจะใช้งาน ที่เหลือก็ยังกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง และการถูกควบคุมพฤติกรรมทางการเงิน
แล้วระบบแบบ Stablecoin หรือแม้แต่ CBDC จากประเทศอื่น ๆ ก็ไม่รอดจากความเสี่ยงนี้เช่นกัน
แอดเหยี่ยวว่า ถึงจะปลอดภัยแค่ไหน ถ้าไม่มีไฟ ไม่มีเน็ต สุดท้ายก็ใช้ไม่ได้อยู่ดี
จะมีก็แต่ Bitcoin ที่ถึงแม้จะไม่เหมาะกับจ่ายค่าข้าวแกงในชีวิตประจำวัน แต่ข้อดีของมันคือ “อยู่รอดได้ในระบบที่ล่ม”
เพราะมันเก็บมูลค่าผ่าน Blockchain แบบกระจายศูนย์
แปลว่า ต่อให้ระบบล่มหมดทั้งเมือง แต่ตราบใดที่คุณยังมี private key อยู่ วันไหนไฟกลับมา — ของคุณก็ยังอยู่
สุดท้าย ไฟฟ้าในสองประเทศกลับมาแล้ว
แต่คำถามใหญ่ยังค้างอยู่: “โลกควรรีบวิ่งเข้าดิจิทัลหมดหรือเปล่า?”และ“ถ้าวันหนึ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับระบบกลาง ระบบนั้นจะรับน้ำหนักไหวจริงหรือ?”
แอดเหยี่ยวฝากไว้ให้คิด — การกระจายความเสี่ยง ไม่ได้มีแค่ในพอร์ตลงทุน แต่มันสำคัญกับวิธีใช้ชีวิตด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก binance
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สัปดาห์นี้ตลาดการเงินจับตา กนง. อาจลดดอกเบี้ย, ข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ และผลประกอบการหุ้นเทคฯ ใหญ่สหรัฐฯ เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในกรอบ 33.05–33.80 บาทต่อดอลลาร์ ตลาดโลกผันผวนตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และยุโรป ลุ้นการลดดอกเบี้ย เศรษฐกิจไทยยังเผชิญแรงกดดัน แต่การเปิดรับความเสี่ยงในตลาดโลกอาจช่วยหนุนการลงทุนระยะสั้
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
สก็อตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ คาดว่าความขัดแย้งทางการค้ากับจีนจะเริ่มคลี่คลายในเร็ว ๆ นี้ แม้อัตราภาษีนำเข้าระหว่างสองประเทศยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์ก็ส่งสัญญาณเชิงบวกเช่นกัน ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอบรับอย่างคึกคัก ทั้งนี้ ทำเนียบขาวเผยว่ามี 18 ประเทศยื่นข้อเสนอการค้า และกำลังเจรจากับอีก 34 ประเทศ รวมถึงความคืบหน้าข้อตกลงเบื้องต้นกับญี่ปุ่นและอินเดีย แม้รายละเอียดอาจยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร.
การรวมตัวของชนชั้นนำในวงการฟอเร็กซ์ ณ กรุงไทเป จุดเริ่มต้นของระบบนิเวศใหม่ — ปาร์ตี้ค็อกเทลสุดเอ็กซ์คลูซีฟของ FX Elites Club ปิดท้ายอย่างงดงาม