简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เรื่องราวของ 2 สหาย ไคล์ เดวีส์ (Kyle Davies) และซู จู (Su Zhu) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ถือครองคริปโตเคอร์เรนซี่รายใหญ่ที่สุดของโลกที่มีพอร์ตมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ จากแต่ก่อนที่พวกเขามีเพียงบริษัทเล็กๆ บนโต๊ะในครัว
ตอนนี้สิ่งได้รับความสนใจมากที่สุดในกลุ่มวัยรุ่นคงหนีไม่พ้น ‘คริปโตเคอเรนซี่’ ซึ่งนักลงทุนแต่คนก็ต่างศึกษาหาข้อมูลเพื่อใช้ในการเทรดคริปโตสร้างกำไรให้กับตนเอง แต่นอกเหนือจากข้อมูลที่พวกเขากำลังมองหานั้นก็คือแนวคิดดีๆ เพื่อผลักดันให้สามารถสู้ต่อไปได้ และเรื่องราวของ 2 สหาย ไคล์ เดวีส์ (Kyle Davies) และซู จู (Su Zhu) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ถือครองคริปโตเคอร์เรนซี่รายใหญ่ที่สุดของโลกที่มีพอร์ตมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ จากแต่ก่อนที่พวกเขามีเพียงบริษัทเล็กๆ บนโต๊ะในครัวของอพาร์ตเมนต์ของพวกเขาเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากๆ
เมื่อไม่นานมานี้ Bloomberg รายงานว่า ผลงานของพวกเขาได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเนื่องจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการขุดคริปโตในจีนและทวีตของอีลอน มัสก์ส่งผลให้ราคาของคริปโตผันผวนอย่างหนักแต่สำหรับเดวีส์ซึ่งนักลงทุนรายแรกๆ ในตลาดคริปโตและเป็นผู้สนับสนุนตัวย ‘Blockchain’ ความผันผวนล่าสุดเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนมือใหม่กลัวได้ แต่ไม่ใช่สำหรับคนที่มีประสบการณ์ผ่านช่วงเวลาที่ผันผวนมากกว่า “Bitcoin ลดลง 30% จากจุดสูงสุด แต่ก็ไม่ได้ลดลงมากนัก ผมไม่เห็นว่ามันน่ากลัวขนาดนั้นเลย”
จุดเริ่มต้นของ 2 สหายนี้คือ เดวีส์และจูเรียนมัธยมปลายด้วยกัน จากนั้นเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์กก่อนจะร่วมงานกับ Credit Suisse ในฐานะผู้ค้าอนุพันธ์ในโตเกียว หลังจากสามปีที่ธนาคารสวิสพวกเขาเลิกและเปิดตัว Three Arrows Capital เพื่อเริ่มซื้อขายสกุลเงินดั้งเดิมในตลาดเกิดใหม่ “มันเป็นตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพมากและนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรา” เดวีส์กล่าว
ภายในสามปีพวกเขาเปลี่ยนจากการทำงานในอพาร์ทเมนต์ในซานฟรานซิสโกมาจ้างคนประมาณ 35 คนและซื้อขาย 5% ถึง 10% ของปริมาณสกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในท้องถิ่นทั้งหมด พวกเขากระจายไปสู่ตัวเลือกหุ้นและสกุลเงินดิจิทัล เดวีส์บอกว่าเพราะบริษัทที่ใหญ่กว่าและดีกว่าเข้ามาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดเกิดใหม่ และบริษัทพวกนั้นยังทำผลงานได้ดีกว่า โดยภายในปี 2018 บริษัท Three Arrows จึงหันมาให้ความสำคัญกับคริปโตโดยเฉพาะ
ต่อมาบริษัทในสิงคโปร์ของพวกเขามีกองทุน DeFiance Capital เป็นการลงทุนในการเงินแบบกระจายอำนาจโดยเดิมพันว่าธุรกิจเหล่านี้จะ “ครอบงำทุนแบบเดิมในทศวรรษหน้า” การลงทุนของบริษัทได้แก่ InsurAce ซึ่งให้บริการประกันภัยและ CDEX ที่เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล
โดยที่ผ่านมาเดวีส์และจูไม่ยอมเปิดเผยทรัพย์สินของพวกเขาและยังแนะนำผ่านโซเชียลมีเดียด้วยว่ามหาเศรษฐีคริปโตคนอื่นๆ ก็ควรทำเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามจากเอกสารในเดือนมกราคมเปิดเผยข้อมูลของบริษัท Three Arrows ของเขาทั้งสอง พบว่าบริษัทนี้มีสัดส่วนการถือหุ้น 5.6% ใน Grayscale Bitcoin Trust ซึ่งเป็นกองทุนมูลค่า 22,000 ล้านดอลลาร์ที่ลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลที่ตั้งขึ้นโดยแบร์รี่ ซิลเบิร์ท (Barry Silbert)
ทั้งนี้สัดส่วนการถือหุ้น Grayscale ทำให้ Three Arrows เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดและมีมูลค่ามากถึง 2,100 ล้านดอลลาร์ในเดือนเมษายน หุ้นของกองทรัสต์ร่วงลงมากกว่า 40% หลังจากการประกาศของมัสก์ในเดือนนี้ว่า Tesla จะระงับการยอมรับสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเนื่องจาก “การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในการขุด Bitcoin” และยังมีการประกาศการควบคุมด้านกฎระเบียบจากจีน
แม้จะมีทวีตของมัสก์เผยให้เห็นถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการขุด Bitcoin แต่เดวีส์กล่าวว่าเขาไม่เชื่อว่าความกังวลเหล่านั้นจะมีผลกับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลโดยรวม
“มีสกุลเงินดิจิทัลจำนวนมากที่ใช้ระบบ proof-of-stake ได้ซึ่งใช้พลังงานน้อยมากหากมีการใช้ไฟฟ้า นั่นคือทิศทางที่คริปโตจำนวนมากมุ่งไป” เดวีส์กล่าวพร้อมเผยว่าปัจจุบัน Ethereum ถือเป็นคริปโตที่บริษัทถือครองมากที่สุด
ก่อนจะกล่าวทิ้งท้ายกับ Bloomberg ว่า “เราไม่ได้ติดอยู่ Ethereum มานานตั้งแต่แรก อันที่จริงเราก็ขาดช่วงไปเช่นกัน วิธีใดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะ Bitcoin ในตอนนี้? มีเพียงการเป็นเจ้าของ Ethereum เป้าหมายสูงสุดของการลงทุนของผมคือการมีประสิทธิภาพสูงกว่า Bitcoin”
หากคุณไม่อยากพลาดเรื่องราวดีๆ พร้อมแฝงแนวคิดมากมายที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการลงทุนคริปโตของคุณในอนาคตได้ ลองนี่ “WikiBit” แอปนำเสนอข่าวสารวงการคริปโต และพร้อมให้บริการตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : posttoday
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Scammer ในโลก Crypto มักใช้วิธีหลอกลวงต่าง ๆ เช่น การปลอมแปลง ICO, ใช้ Wallet ปลอม หรือการ Phishing เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีการปั่นราคาเหรียญและหลอกให้ลงทุนตามกระแส การใช้โบรกเกอร์เถื่อนก็เสี่ยงต่อการสูญเสียเหรียญ จึงควรระมัดระวังและตรวจสอบให้ดี.
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง
คณะทำงานด้านคริปโทเคอร์เรนซีของ SEC สหรัฐฯ จัดการประชุมโต๊ะกลมครั้งแรกเพื่อหารือถึงแนวทางการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและกรรมาธิการ SEC เข้าร่วม การประชุมเกิดขึ้นท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโทฯ และยกเลิกมาตรการควบคุมเข้มงวดในยุครัฐบาลไบเดน เช่น การฟ้องร้องบริษัทคริปโทฯ รายใหญ่ การหารือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดประเภทโทเคนดิจิทัลและการพัฒนากฎเกณฑ์ใหม่ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมคริปโทฯ ภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม
ความรู้เกี่ยวกับศัพท์คริปโต