简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (16 ก.ย.) โดยถูกกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากถึง 0.50% ในการประชุมสัปดาห์นี้
ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.35% สู่ระดับ 100.763
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 140.71 เยน จากระดับ 140.93 เยนเมื่อวันศุกร์ (13 ก.ย.) นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8454 ฟรังก์ จากระดับ 0.8482 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3593 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3596 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1121 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1078 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ส่วนเงินปอนด์แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3207 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3120 ดอลลาร์
คณะกรรมการเฟดจะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันพุธนี้ (18 ก.ย.) ตามเวลาสหรัฐฯ โดยการคาดการณ์เกี่ยวกับขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้มีความผันผวนในช่วงหลายวันที่ผ่านมา และล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 59% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้วที่ให้น้ำหนักเพียง 30%
หากเฟดลดอัตราดอกเบี้ยตามคาดในการประชุมวันพุธนี้ ก็จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งขณะนั้นเฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงใกล้ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ เฟดสาขานิวยอร์กเปิดเผยว่า ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) พุ่งขึ้น 16.2 จุด สู่ระดับ +11.5 ในเดือนก.ย. จากระดับ -4.7 ในเดือนส.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ -5.0
ทั้งนี้ ดัชนีดีดตัวสูงกว่าระดับ 0 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคการผลิตในนิวยอร์กเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2566 โดยได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนส.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดขายบ้านมือสองเดือนส.ค. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนส.ค.จาก Conference Board
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=syrc
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้จะเป็นยูทูปเบอร์ชื่อดัง แต่นายอาร์มลงทุนแบบ “ไม่เสี่ยงเกิน” ด้วย ETF และ S&P500 เป็นหลัก ใช้กลยุทธ์ DCA ลงทุนแบบไม่ต้องเฝ้าตลาด พร้อมมีเงินสำรองไว้ก่อนลงทุนเสมอ เขายังใช้แนวคิด “VI มือสอง” เลือกลงทุนตามคนเก่งที่เชื่อถือได้ แต่สุดท้ายเขาย้ำว่า การลงทุนที่ดีที่สุดคือ “ลงทุนกับตัวเอง” ไม่ใช่แค่หวังผลตอบแทน แต่ต้องเข้าใจความเสี่ยงและลงทุนอย่างมีสติ
รีวิวโบรกเกอร์ RADEX MARKETS
จัดอันดับ 5 โบรกเกอร์คะแนนต่ำ
ชีวิตหรูหราของเทรดเดอร์ในโซเชียลอาจไม่ใช่ผลจากการเทรด Forex จริงๆ หลายคนรวยจากการขายคอร์ส สร้างภาพ หรือรับค่านายหน้า ไม่ใช่กำไรจากตลาด การเติบโตของเงินทุนใน Forex ต้องใช้เวลา ความรู้ และวินัยสูง — ไม่มีทางลัด อย่าหลงเชื่อภาพลวงตา เพราะการเทรดไม่ใช่โชค แต่คือความเข้าใจและอดทนระยะยาว “การเทรดไม่ทำให้รวยเร็ว แต่ความโลภจะทำให้คุณจนไว”
Neex
AvaTrade
EC Markets
FXTM
Trive
OANDA
Neex
AvaTrade
EC Markets
FXTM
Trive
OANDA
Neex
AvaTrade
EC Markets
FXTM
Trive
OANDA
Neex
AvaTrade
EC Markets
FXTM
Trive
OANDA